ค่านิยมหลัก 12 ประการ ข้อที่ 2
ค่านิยมหลัก 12 ประการ ข้อที่ 2
ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgm2lCGdhLoWXKGeHXDE3MgXDIc2SjSVzskCUx75EolnrEB1S7VLyl_8rXDOjJG4mDjGSYp8dX4aGJcqC1yV0zskFjLSLrfyqMs_337XfPRkgn1sWwuGoTkd6P9xxSTYcnXqaQnzFSiVYE/s1600/line2.png)
ความซื่อสัตย์
“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย
ดังตัวอย่างที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอยกมาให้เห็น ดังนี้
# การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น เราตั้งใจว่าจะไม่กินของหวาน ของมันเพื่อลดน้ำหนัก แต่เราก็แอบกิน แม้คนอื่นไม่ทราบ แต่เราก็รู้ตัวเราดี ผลเสีย คือ เราก็จะอ้วน และเป็นโรคอื่นตามมา หรือตั้งใจจะอ่านหนังสือ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง หรือเล่นเนท ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
# การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น
# การไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน หรือหากเป็นพ่อค้าแม่ขาย ชาวสวนชาวนาไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ขายของโกงเขา หรือใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย ฯลฯ ก็จะทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท โรคภัยไข้เจ็บจากสารพิษสะสมในร่างกาย เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
# การไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร นอกเหนือจากญาติแล้ว เป็นธรรมดาที่คนเราต้องมีการคบหาสมาคมกับผู้อื่น เป็นมิตรต่อกัน และต้องพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งความเป็นมิตรนั้นจะคงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดคดทรยศต่อกัน มิตรภาพจึงจะยาวนาน หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา เป็นต้น
# การซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน ซึ่งคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
ตัวอย่างข้างต้น คงจะทำให้เห็นแล้วว่า “ ความซื่อสัตย์ ” เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากขาด “ ความซื่อสัตย์ ” แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เกิดความโกลาหลไปทั่ว ไม่รู้สิ่งไหนจริง สิ่งไหนเท็จ ถ้าขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น ซึ่งความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข อันมีผลดีต่อประชาชนคือ ตัวเราทุกคนนั่นเอง
อ้างอิง : http://www.m-culture.go.th
ความเสียสละ
ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้้าใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรมเครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัวคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมจะเกิดความสงบสุขได้ควรจะมี
คุณธรรมคือความเสียสละ คือเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เพราะถ้าต่างคนต่างเห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่คนอื่นแล้ว ส่วนรวมก็จะเดือดร้อน เมื่อส่วนรวมเกิดความเดือดร้อนเสียแล้วความสุขความสงบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
การเสียสละจึงเป็นคุณธรรมส้าคัญอย่างหนึ่งในสังคม เริ่มตั้งแต่ครอบครัวอันเป็นหน่วยเล็กๆ ของสังคม ต้องเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่กัน เสียสละทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความเหนื่อยยากล้าบากให้แก่กัน ทั้งในยามปกติและคราวจ้าเป็น ดังจะเห็นได้จากที่มีการเสียสละ และบริจาคทรัพย์ สิ่งของเพื่อช่วยเหลือกัน ในเมื่อประสบภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่คนในที่ใดที่หนึ่ง ก็มักจะมีการรับบริจาคเพื่อน้าเงินหรือสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น
อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น หรือไม่ก็มีการรับบริจาคสิ่งของเพื่อน้าไปสร้างเป็นสาธารณ ประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวม
บุคคลผู้มีน้้าใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามก้าลังมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยก้าลังกาย บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยก้าลังสติปัญญา ทุกๆ ครั้งที่ช่วยเหลือก็มีความกรุณาสงสารเป็นเบื้องหน้า มุ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ บริสุทธิ์ใจผู้ที่ฝึกฝนมาดีในเรื่องของการเสียสละย่อมสละได้โดยง่าย ไม่ต้องฝืนใจ สามารถที่จะทำได้อย่างสม่ำเสมอ และสามารถที่จะเสียสละให้ได้แม้สิ่งอันเป็นที่รัก ที่ให้ได้โดยยาก มีอวัยวะและชีวิตเป็นที่สุด
ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการเสียสละเป็นคุณธรรมส้าคัญประการหนึ่งที่สร้างความนับถือ ผูกไมตรี ท้าคนเกลียดให้รัก ท้าคนที่รักอยู่แล้วให้มีความรักมากยิ่งขึ้น ย่อมให้ผลที่ดีเสมอ ก่อให้เกิดความชื่นชมยินดีต่อกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือผู้รับ คนที่มีน้้าใจเสียสละคิดจะเฉลี่ยแบ่งปันลาภผลและความสุขของตนแก่ผู้อื่นอยู่เสมอนั้น ไม่ว่าใครๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วยดังนั้น ผู้ที่มองเห็นการณ์ไกลควรพยายามฝึกตนให้เป็นคนเสียสละแบ่งปันวันละนิด เป็นการสร้างนิสัย อุปนิสัยและอัธยาศัยที่ดีให้แก่ตนเอง ซึ่งอุปนิสัยนี้จะค่อยๆ ฝังลึกลงในจิตใจ กลายเป็นอุปนิสัยที่มั่นคง ท้าลายได้โดยยาก เป็นอุปนิสัยประจ้าตัวต่อไป
ความอดทน
ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหวงานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงานเล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้ นอกจากจะอาศัยปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมข้อหนึ่งเป็นพื้นฐาน จึงสำเร็จได้ คุณธรรมข้อนั้นคือ ขันติ หรือความอดทนนั่นเองถ้าขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใดสำเร็จได้เลย เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้งต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้เกิดความขยัน และทำให้อุปสรรคต่างๆ เป็นเครื่องท้าทายความสามารถ
ลักษณะความอดทน
1.มีความอดกลั่น คือเมื่อถูกคนพาลกล่าวหาว่าร้าย ก็ทำราวกับว่าไม่ได้ยินทำหูเหมือนหูกระทะ เมื่อเห็นอาการยั่วยุก็ทำราวกับว่าไม่ได้เห็น ไม่สนใจใยดี ไม่ปล่อยใจให้เศร้าหมองไปด้วย ใส่ใจสนใจแต่ในเรื่องที่จะทำความเจริญให้แก่ตนเอง เช่น เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยิ่งๆขึ้นไป2.เป็นผู้ไม่ดุร้าย คือสามารถข่มความโกรธไว้ได้ ไม่โกรธ ไม่ทำร้าย ทำอันตรายด้วยอำนาจแห่งความโกรธนั้น ผู้ที่โกรธง่ายแสดงว่ายังขาดความอดทน มีคำตรัสของท้าวสักกะเป็นข้อเตือนใจอยู่ว่า"ผู้ใดโกรธตอบผู้ที่โกรธแล้ว ผู้นั้นกลับเป็นคนเลวกว่าผู้ที่โกรธก่อน ผู้ที่ไม่โกรธต่อบุคคลผู้กำลังโกรธอยู่ ย่ิอมชื่อว่า เป็นผู้ชนะสงครามอันชนะได้ยากยิ่ง"3.ไม่ปลูกน้ำตาให้แก่ใครๆ คือไม่ก่อทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเจ็บแค้นใจจนน้ำตาไหล ด้วยอำนาจความเกรี้ยวกราดของตน4.มีใจเบิกบานแจ่มใสอยู่เป็นนิตย์ คือมีปีติอิ่มเอิบใจเสมอๆ ไม่พยาบาท ไม่โทษฟ้า โทษฝน โทษเทวดา โทษโชคชะตา หรือโทษใครๆ ทั้งนั้น พยายามอดทนทำการงานทุกอย่างด้วยใจเบิกบานลักษณะความอดทนนั้น โบราณท่านสอนลูกหลานไว้ ว่า..."ปิดหูซ้ายขวา ปิดตาสองข้างปิดปากเสียบ้าง นอนนั่งสบาย"บางคนขี้เกียจทำงาน บางคนขี้เกียจเรียนหนังสือ บางคนเกะกะเกเร พอมีผู้ว่ากล่าวตักเตือนก็เฉยเสีย แล้วบอกว่าตนเองกำลังบำเพ็ญขันติบารมี อย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด ตีความหมายของขันติผิดไป ขันติไม่ได้หมายถึงการตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้นลักษณะที่สำคัญยิ่งของขันติ คือตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น จะต้องมีใจผ่องใส ไม่เศร้าหมอง
มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม หมายถึง มีความคิดริเริ่มที่จะทำเพื่อส่วนรวม เช่น รวมตัวกันไปปลูกป่า รวมตัวกันรณรงค์เรื่องยาเสพติด
อ้างอิง : http://www.mfu.ac.th/other/dormitory_network/image/piture%20new/1245248200-mfu_02.jpg |
อ้างอิง : http://www.banpaowittaya.org/77Soontonpu/DSC_0046.JPG |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgm2lCGdhLoWXKGeHXDE3MgXDIc2SjSVzskCUx75EolnrEB1S7VLyl_8rXDOjJG4mDjGSYp8dX4aGJcqC1yV0zskFjLSLrfyqMs_337XfPRkgn1sWwuGoTkd6P9xxSTYcnXqaQnzFSiVYE/s1600/line2.png)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น