ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คืนวันแม่ปี 2558

ชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คืนวันที่ 12 สิงหา ถึงรุ่งเช้าคืนวันที่ 13 สิงหาคม 2558

ภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/517024
ทำความรู้จักกับฝนดาวตกกันก่อน
      ฝนดาวตก คือดาวตกหลายดวงที่เหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันในท้องฟ้าในช่วงเวลาเดียวกันของปี ซึ่งเกิดจากเศษชิ้นส่วนในอวกาศที่พุ่งเข้ามาในบรรยากาศโลกด้วยอัตราเร็วสูง แต่ละคราวที่ดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ จะมีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กของดาวหางถูกสลัดทิ้งไว้ตามทางโคจร เรียกว่า "ธารสะเก็ดดาว" หากวงโคจรของโลกและของดาวหางซ้อนทับกัน โลกจะเคลื่อนที่ผ่านธารสะเก็ดดาวในช่วงวันเดียวกันของแต่ละปี ทำให้เกิดฝนดาวตก

        



     ฝนดาวตก ( Meteor shower )เกิดจากการที่โลกโคจรผ่านทะลุฝุ่นที่มาจากหางของดาวหาง แตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่มีปริมาณการตกมากกว่า และถี่กว่าดาวตกปกติ ปริมาณของฝนดาวตกนั้นขึ้นอยู่กับว่ามีเศษฝุ่น เศษหินจากสะเก็ดดาวหางมากน้อยเพียงใด ซึ่งบางครั้งฝนดาวตกอาจตกมากถึง 10,000 ดวงต่อชั่วโมง โดยมีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆหนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดกำเนิด (radiant) เมื่อจุดกำเนิดนั้นตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกเพอร์เซอัส(กลุ่มดาวเพอร์เซอัส) หรือ ฝนดาวตกอีต้าอะควอลิด (ดาวอีต้า คนแบกหม้อน้ำ) เป็นต้น ซึ่งเราสามารถกำหนดช่วงเวลาการตกได้ว่าตรงกับวันไหนวันที่เท่าไหร่ และเวลาใด ซึ่งฝนดาวตกบางชนิดจะมีปริมาณการตกน้อย คล้ายกับดาวตกทั่วไป แต่ก็มีบางชนิดที่มีปริมาณการตกมาก และทิศทางที่แน่นอน มีลักษณะคล้ายกับฝนตก ในการดูฝนดาวตกนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือหลังเที่ยงคืน เพราะเป็นเวลาที่ชีกโลกที่เราอยู่จะรับดาวตกที่พุ่งเข้ามาแบบตรงๆ ซึ่งช่วงเวลาที่ดาวตกเกิดก่อนเที่ยงคืนหรือช่วงหัวค่ำนั้นจะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งสวนทางการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง แต่ถ้าฝนดาวตกที่เกิดหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือในเวลาใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก เราจึงเห็นดาวตกที่อยู่ในช่วงเวลาใกล้รุ่งนั้นวิ่งช้า




ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสันสวยงาม สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 กรกฎาคม - 24 สิงหาคมของทุกปี โดยในช่วงประมาณวันที่ 12 - 13 สิงหาคม จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุด อาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึงประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง โดยปีนี้ช่วงเวลาที่มีอัตราการตกมากที่สุดของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ คือ เวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 13 สิงหาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลากลางวันในประเทศไทย แต่สำหรับช่วงเวลากลางคืนก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้ แต่อัตราการตกอาจไม่มากนัก ผู้ที่สนใจยังสามารถติดตามชมความสวยงามของปรากฏการณ์ฝนดาวตกได้ในคืนดังกล่าว






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การพิชิตยอดเขามองบลังค์ครั้งแรก : หน้า Google วันที่ 8 สิงหาคม 2558

ขอเป็นกำลังใจให้ชาวไทยทุกคน